หน่วยที่ 5 กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้  (KM Action Plan) เป็นแผนงานที่แสดงถึงรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย KM (Desired State) ที่กำหนด
5.1 จากการทวนสอบความถูกต้องและเหมาะสมของขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desired State) ตามแบบฟอร์ม 4  ให้องค์กรนำหัวข้อเป้าหมาย KM ที่องค์กรต้องการทำคือ เป้าหมาย KM ที่ xx   จากแบบฟอร์ม 3   1 เป้าหมาย KM (Desired State)   มาจัดทำแผนการจัดการความรู้   (KM Action Plan)  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โดยการจัดทำแผนจะขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรที่ทำให้เป้าหมาย KM บรรลุผลสำเร็จ  
5.2 การเริ่มต้นจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)   องค์กรควรจัดทำการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้   เพื่อให้ทราบถึงความพร้อม (จุดอ่อน-จุดแข็ง/โอกาส-อุปสรรค) ในเรื่องการจัดการความรู้   และนำผลของการประเมินนี้ ใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ให้สอดรับกับเป้าหมาย  KM (Desired State)  ที่เลือกไว้  
         โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กร  ได้ดังนี้
          5.2.1 ใช้วิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ด้วย KMAT (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT) ตามแบบฟอร์ม 5-9
          5.2.2 ใช้วิธีอื่นๆ ในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้  เช่น  แบบสอบถาม, รายงานการวิเคราะห์องค์กร เป็นต้น แล้วสรุปลงในแบบฟอร์ม 10ข้อ 
5.2.3 นี้ใช้สำหรับบางองค์กรที่อาจมีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้มาแล้ว หรือมีวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้เป็นแบบอื่น โดยไม่ใช้ข้อ 4.3.1)
5.2.4   KMAT  (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT)      เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเรื่องการจัดการความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง /โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง โดยเครื่องมือนี้แบ่งเป็น 5 หมวด ตามแบบฟอร์มที่ 5-9 ดังนี้
          หมวด 1. กระบวนการจัดการความรู้  (แบบฟอร์ม 5), หมวด 2. ภาวะผู้นำ  (แบบฟอร์ม 6), หมวด 3. วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้ (แบบฟอร์ม 7), หมวด 4. เทคโนโลยีการจัดการความรู้ (แบบฟอร์ม 8), หมวด 5. การวัดผลการจัดการความรู้  (แบบฟอร์ม 9)
5.2.5 การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้โดยวิธีอื่นๆ  เช่น  แบบสอบถาม, รายงานการวิเคราะห์องค์กร หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสม
       - การประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้นั้น องค์กรสามารถเลือกวิธีใดๆ  ก็ได้ที่องค์กรมีความเข้าใจ หรือถ้าองค์กรได้มีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้มาบ้างแล้วก็สามารถใช้วิธีนั้นๆได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มารู้จักกับเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการความรู้

บทความ       ประเวศ วะสี อ้างใน เจษฎา  นกน้อย ( 2552:2-4 ) การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบในการแสวงหาความรู้การแสวงหาความรู้ห...