เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ทุกประเทศล้วนใช้ไอทีอย่างเต็มที่ทั้งนั้น ประเทศที่กำลังพัฒนาก็พากันหันมาใช้ไอทีเพื่อที่จะช่วยให้สามารถ ก้าวกระโดดให้ทันประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่เปิดและพัฒนามากที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกาก็ใช้ไอที มากที่สุดในโลก การพัฒนานั้นจะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่จะถกเถียงกันได้มากมาย บางคน อาจจะกล่าวว่าการพัฒนาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่บางคนก็อาจจะกล่าวว่า การพัฒนาเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเพราะคุณภาพชีวิตอย่างสมัยโบราณเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคุณภาพชีวิตสมัยปัจจุบัน ต่างคนต่างใจ ต่างคนต่างมุมมอง แต่ถ้าสนใจจะพัฒนาก็จะต้องใช้ไอทีอย่างหนีไม่พ้น นักวิชาการหลายท่านกล่าวไว้ว่า ไอทีเปรียบเสมือนเส้นเลือดและหัวใจขององค์กรและธุรกิจแทบทุกประเภท เพราะไอทีสามารถเป็นตัวชี้ได้ว่าธุรกิจเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่อย่างไร ไอทีเข้ามามีบทบาทในทุกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ บริษัทห้างร้านต่างๆ ในทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ไอทีที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ อินเทอร์เน็ต เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลข และภาพที่เคลื่อนไหวได้ ที่สำคัญอินเทอร์เน็ตสามารถย่อโลกทั้งใบ ให้อยู่ในฝ่ามือของเรา ในปัจจุบันนี้รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศนโยบายในการผลักดันให้ไอทีเข้ามาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและมี การดำเนินการอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปและบูรณาการระบบทะเบียนแห่งชาติซึ่งมี ฯ พณ ฯ ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ ผู้เขียนอาวุโสเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เร่งรัดพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและให้บริการประชาชน ได้ตลอดวันละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ในบทความนี้จะกล่าวถึง ความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ต บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการปรับปรุงองค์กร ระบบสารสนเทศ ตัวอย่างการใช้ไอทีในองค์กร ผลจากการใช้ไอทีในองค์กร นโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและสวัสดิการสังคม และ ตัวอย่างผลกระทบของไอทีในองค์กร บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการปรับปรุงองค์กรการพิจารณาเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีมุมมองได้หลายมุมมอง เช่น พิจารณาด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือฮาร์ดแวร์ ด้านคำสั่ง หรือซอฟต์แวร์ ด้านบุคลากร ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านอินเทอร์เน็ต ด้านอีคอมเมิร์ซ และด้านกฎหมาย เป็นต้น ด้านฮาร์ดแวร์หรือเครื่องจักรอุปกรณ์นั้น ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาไปไม่น้อย เช่น มีโรงงานทำแผงวงจร ส่งไปขายต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่าเป็นการนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบแล้ว ส่งออกด้วยมูลค่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-30 เท่านั้น นอกจากนั้นก็มีโรงงานทำอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น โรงงานทำจานแม่เหล็ก โรงงานเครื่องพิมพ์ โรงงานแป้นพิมพ์ และโรงงานจอภาพ เป็นต้น ส่วนการทำ “ไมโครชิพ” หรือ “เวเฟอร์” นั้นได้มีการกล่าวขวัญกันมาก แต่เป็นงานที่จะต้องซื้อเครื่องจักรโรงงานสำหรับการผลิตมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทและเครื่องจักรโรงงานที่ใช้ในการผลิตนี้ล้าสมัยเร็วมาก ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับแผนการตลาดว่าจะสามารถขาย ได้รวดเร็ว คุ้มทุนก่อนที่เครื่องจักรโรงงานจะล้าสมัยหรือไม่ด้านซอฟต์แวร์หรือคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานนั้น มีตัวอย่างที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก คือที่ บังกะลอร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงนำรายได้เข้าประเทศอินเดียเป็นหมื่นล้านเป็นแสนล้านบาท ฉะนั้นประเทศไทยจึงน่าจะส่งเสริมพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งเพื่อการส่งออกและเพื่อทดแทนการนำเข้าด้านบุคลากร เมื่อ พ.ศ. 2543 อดีตประธานาธิบดีคลินตันได้ขออนุมัติรัฐสภาเพื่อให้วีซ่าชาวต่างชาติ เข้าไปทำงานด้านไอทีซึ่งขาดแคลนอยู่กว่า 1 ล้าน 5 แสนคน ด้านยุโรปก็ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเป็นแสนคนของไทยได้เริ่มพัฒนาบุคลกรด้านไอทีโดยเริ่มถูกทางแล้วแต่ยังไปไม่ถึงดวงดาว มีการกู้เงินจากต่างประเทศจัด
ฝึกอบรมเป็นจำนวนมาก แต่คุณภาพยังไม่ดีทั้งด้านไอทีและด้านภาษาอังกฤษจึงส่งออกไม่ได้ ด้านหลักสูตรการศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เปิดสอนด้านไอทีทุกมหาวิทยาลัยด้านดาต้าหรือข่าวสารข้อมูลสามารถจัดทำแฟ้มข้อมูลด้านการลงทุน ด้านการวิจัยทั้งธุรกิจและการเมืองส่งขายให้ผู้สนใจได้ หรือจะทำวิจัยเฉพาะกิจแบบการสุ่มตัวอย่างดังที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเทอร์เน็ตโพลทำอยู่ก็เป็นธุรกิจที่มีอนาคตไม่เลวด้านอินเทอร์เน็ต ประเทศไทยยังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนน้อยเพียงประมาณร้อยละ 2 ของประชากรเท่านั้น จำเป็นต้องเร่งรัดและส่งเสริมให้ประชากรไทยได้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างน้อยร้อยละ 20 และเพิ่มไปเป็นระยะๆให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ควรส่งเสริมให้มีเว็บภาษาไทยจำนวนมากๆ แต่นอกจากจะขาดแคลนการใช้อินเทอร์เน็ตแล้วยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมซึ่งต้องปรับปรุงอีกมากไม่ว่าจะเป็นในยุคสมัยใดก็ตาม ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคคล หรือองค์กรประสบความสำเร็จในระยะยาว และในอนาคตความรู้จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่ละองค์กรจำเป็นต้องมีกระบวนการเพื่อให้มี ความสามารถในการเรียนรู้ การจัดโครงสร้างการจัดการด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ฐานความรู้ยังช่วยให้องค์กรสามารถปรับขนาดองค์กรให้เหมาะสม เพราะว่าในส่วนความรู้ความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่เคยขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นจะถูกเก็บอยู่ในฐานความรู้แทนเมื่อเราพูดถึงความรู้นั้นเราหมายถึง การประสมประสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นกรอบเพื่อการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันในด้านของความรู้นั้นที่พูดถึงกันก็มี “ระบบฐานความรู้” หรือ “เคบีเอส (KBS = Knowledge Based Systems)” และ “การจัดการความรู้” หรือ “เคเอ็ม (KM = Knowledge Management)” ซึ่งมีขอบเขตที่กว้าง มากกว่าการจัดการข้อมูล (Data Management) การจัดการสารสนเทศ (Information Management) หรือ แม้กระทั่งการจัดการระบบ (Systems Management) การที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ รูปแบบในองค์กร สังคม พฤติกรรมหรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม แต่เทคโนโลยี สารสนเทศนั้นมีบทบาทอย่างมากในการช่วยสรุป รวบรวม และเข้าถึงแหล่งความรู้และแหล่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมาก ระบบฐานความรู้นั้นใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บ การเข้าถึง และการเรียกใช้ ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
(1) ฐานความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบเคบีเอส เป็นส่วนที่เก็บความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ซึ่งอาจจะเก็บอยู่ในรูปของ ถ้า… แล้ว…. (If…Then…)
(2) เครื่องจักรอนุมาน (Inference Engine) ซึ่งจะเป็นส่วนในการตีความความกฎต่างๆ เริ่มจาก การตรวจสอบฐานข้อมูลถึงการกำหนดสมมติฐาน
(3) ฐานข้อมูล (Database) เป็นการเก็บสมมติฐาน และสถานะเริ่มต้นหรือเงื่อนไขของปัญหาที่จะแก้ไข รวมถึงจุดเริ่มต้นในกระบวนการค้นหาการจัดการความรู้ที่ดีนั้นควรจะเริ่มจากการมองถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นจากการเสนอแนะจากผู้ใช้บริการอัตราการใช้บริการลดต่ำลง อัตราการลาออกของบุคลากร เพราะปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดการความรู้ที่ดีคือการต่อสู้กับปัญหาซึ่งจุดมุ่งหมายหนึ่งของเทคโนโลยี สารสนเทศคือ การปรับปรุงความสามารถขององค์กรหรือหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเพื่อช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กรและให้องค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นในการจัดการความรู้นั้นควรเริ่มต้นจากเทคโนโลยี การปรับโครงสร้างและการปฏิบัติงานขององค์กร และการเรียนรู้การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในองค์กรนั้นจะต้องปรับวิธีการทำงาน กับการต้องมีการปฏิรูปในระดับโครงสร้าง ทั้งตัวโครงสร้างองค์การกับตำแหน่งบริหารและที่สำคัญ คือการปฏิรูปนิสัย หรือวิธีการทำงานของทุกคนไม่ว่าจะเป็นระดับล่าง จนถึงระดับผู้บริหารระดับสูง
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรก็เพื่อการบริการที่ดีขึ้น สนับสนุน การพัฒนาเป็นหลัก พร้อมกับจัดทำระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร ให้สามารถกระจายข่าวสารต่างๆ ให้กับพนักงานทราบอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว การพัฒนาคุณภาพการจัดการและการกระจายอำนาจ เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศจะสร้างความสำเร็จ ได้เป็น 3 รูปแบบคือ
• ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งวัดได้จาก มูลค่าของผลผลิตหรือผลงานที่ได้ออกมา ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ดีขึ้น
• ประสิทธิผล (Effectiveness) สามารถวัดความสำเร็จได้อย่างคร่าวๆ จากผลงานของแต่ละคน และกระบวนการทำงานภายในองค์กร ซึ่งจะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ประสิทธิผลดีขึ้นรวมไปถึง องค์กรที่ไม่เคยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาก่อนด้วย
• ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) จะสร้างกำไรให้กับองค์กรและเทคโนโลยี สารสนเทศช่วยทำให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้น รวมถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้บริการอย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรจะระมัดระวังก็คือ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลข่าวสาร ความไม่สมส่วน และความแคบของข้อมูล เพราะเมื่อข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นมีข้อผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็ไม่มีทางที่จะสมบูรณ์ได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น